เรียนรู้ระบบเครือข่าย APRS สำหรับผู้เริ่มต้น

Automatic Packet Reporting System (APRS)

\"APRS\"

 

เกริ่นนำ
      ระบบ APRS ถูกออกแบบไว้สำหรับกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นโดยอาศัยวัสดุอุปกรณ์ในโครงสร้างพื้นฐานเดิมนำมากลับใช้ใหม่ได้ จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเก่าก็ตาม ด้วยระบบสื่อสารที่รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบอาทิเช่น ระบบติดตามยานพาหนะ รายงานสภาพอากาศ การแจ้งเตือนภัยพิบัติ การแจ้งตำแหน่งพิกัดจีพีเอส เป็นต้น

คำจำกัดความและความหมาย
      APRS ย่อมาจาก Automatic Packet Report System แปลตามตัวคือ ระบบรายงานข้อมูลอัตโนมัติ  โดยมีความหมายว่า เป็นระบบรับส่งข้อมูลอัตโนมัติในโหมดดิจิตอล ที่มีรูปแบบการสื่อสาร(โปรโตคอล) คือ “APRS Protocol” เปรียบเทียบได้กับภาษาพูด เมื่อใช้ภาษาเดียวกันก็จะสื่อสารกันรู้เรื่อง โปรโตคอล APRS ก็คือภาษาหนึ่งในการจัดวางรูปแบบข้อความที่จะทำให้ระบบต่าง ๆ สื่อได้ตรงกัน และสามารถสื่อสารกันได้หลายทางไม่ได้จำกัดเฉพาะทางใดทางหนึ่งเช่น ทางอินเทอร์เน็ต ทางคลื่นวิทยุ ทางเสียง สื่อบันทึก โทรศัพท์ ฯลฯ โปรโตคอล APRS จะมีหลายรูปแบบหรือหลายชนิดในการรับส่งข้อมูลเช่น รูปแบบแจ้งตำแหน่งพิกัดจีพีเอส รูปแบบข้อมูลตรวจวัดอากาศ รูปแบบข้อความ รูปแบบเดต้าล๊อกเกอร์ รูปแบบข้อความสถานะ เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับ
      ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาของนักวิทยุสมัครเล่นสู่ยุคดิจิตอล และด้วยคุณลักษณะการใช้งานที่ได้หลากหลายจึงได้ประโยชน์จากการใช้งานตามรูปแบบนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ใช้ในรูปแบบแจ้งตำแหน่งพิกัดจีพีเอส(จีพีเอสแทร็กเกอร์) จะได้ประโยชน์ทางด้านประสิทธิภาพการเดินทาง การระบุตำแหน่งปัจจุบันทันด่วน ติดตามการเคลื่อนที่ ตลอดจนถึงการทดสอบประสิทธภาพการรับส่งของสถานีเคลื่อนที่ เป็นต้น  ในรูปแบบข้อมูลตรวจวัดอากาศ จะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลตรวจอากาศไปยังสมาชิกอื่น ๆ โดยง่ายอย่างอัตโนมัติได้รับข้อมูลทันด่วน ใช้ในการเตือนภัยพิบัติ การเกษตรกรรม การท่องเที่ยว การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น อนึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านเครือข่ายในกิจการวิทยุสมัครเล่นที่มิได้มุ่งหวังหาผลประโยชน์ทางการค้าในด้านการให้บริการเครือข่ายหรือรับบริการเครือข่าย จึงมีต้นทุนในการสื่อสารที่ต่ำหรือฟรีนั่นเอง

เนื้อหารายละเอียด
      ในระบบ APRS นั้นมีการเชื่อมโยงได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระบบสื่อสารและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในระบบ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ และอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก สามารถยกตัวอย่างการสื่อสารได้ดังต่อไปนี้

      การรับส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ จะดำเนินการได้โดยสร้างข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปโปรโตคอล APRS แล้วส่งข้อมูลนั้นให้ TNC ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจตอลให้เป็นสัญญาณเสียง(แพ็คเก็จเรดิโอ) ณจึงส่งเข้าวิทยุรับส่งเพื่อส่งสัญญา คลื่นวิทยุออกอากาศ เมื่ออีกฝั่งหนึ่งได้รับคลื่นสัญญาณจะส่งสัญญาณเสียง(แพ็คเก็จเรดิโอ)  ให้กับ  TNC เพื่อถอดสัญญาณเสียงเป็นข้อมูลดิจิตอลกลับไปยังผู้รับในรูปแบบโปรโตคอล APRS แต่เนื่องด้วยการรับส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุจะมีข้อจำกัดในระยะทาง ดังนั้นจึงมีสถานีทวนสัญญาณเพิ่มขึ้นระหว่างทางเพื่อให้ทวนสัญญาณได้ไกลขึ้น เมื่อใช้ในระบบรับส่งแพ็คเก็จข้อมูลแล้วเราสามารถกลั่นกรองข้อมูลนั้นได้ จึงได้เพิ่มคำว่า “ดิจิตอล” เข้าไปนำหน้า จึงได้เป็น Digital Repeater หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า (ดิจิ)Digi, (ดิจิพีทเตอร์)DigiPeater แสดงได้ดังผังประกอบคำอธิบาย

\"ผังการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ\"

       การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะดำเนินการได้โดยสร้างข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปโปรโตคอล APRS แล้วส่งข้อมูลนั้นไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการเครือข่าย APRS-IS ส่วนสถานีอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับแกนเซิร์ฟเวอร์หลักก็จะได้รับข้อมูลกลับมาด้วยเช่นกัน ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ TNC2 Monitor โดยแม่ข่ายเซิร์ฟเวอร์หลักจะมีหลายตัวเพื่อสำรองระบบและกระจายข้อมูลสู่ผู้ใช้งานทั่วโลก

\"ผังการสื่อสานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต\"

       ในการใช้งานจริงนั้น อุปกรณ์หลายตัวสามารถทำหน้าที่ได้หลายหน้าที่ในตัวเดียวกัน  อีกทั้งอาจทำงานอยู่ในรูปฮาร์ดแวร์หรือซอฟร์แวร์ก็ได้เช่น TNC อาจเป็นไอซีตัวหนึ่ง หรือใช้ซาวน์การ์ดคอมพิวเตอร์แล้วใช้ซีพียูประมวลผลด้วยซอฟร์แวร์ ก็ได้

       การรับส่งข้อมูลแบบผสมผสาน ระหว่างเครือข่ายวิทยุไปยังอินเทอร์เน็ตหรือในทางกลับกัน จากผังแสดงระบบ เมื่อรับสัญญาณจากคลื่นวิทยุด้วยวิทยุรับส่งแล้วส่งให้ TNC ทำการแปลงสัญญาณข้อมูล(แพ็คเก็จเรดิโอ)ให้เป็นข้อมูลโปรโตคอล APRS ส่งให้ Internet Gateway(IGate) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งผ่านข้อมูลไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าสู่เครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ APRS-IS ต่อไป เส้นทางนี้เราเรียกว่า “RF TO INET” ในทางกลับกัน ข้อมูลจากเครือข่ายกลาง APRS-IS ก็จะส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมายัง IGate แล้วถูกคัดกรองส่งไปยัง TNC แปลงข้อมูลโปรโตคอล APRS ให้เป็นสัญญาณเสียงส่งให้วิทยุรับส่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณออกอากาศไปยังผู้รับต่อไป เส้นทางนี้เราเรียกว่า “INET TO RF“

\"ผังการสื่อสารแบบผสมระหว่างเคลื่นอวิทยุสู่อินเทอร์เน็ต\"

       การใช้งานสถานีแทร็กเกอร์ จากตัว GPS Receiver ทำหน้าที่รับสัญญาณ GPS จากดาวเทียมส่งข้อมูล GPS ในรูปแบบโปรโตคอล NMEA ไปให้ตัว TRACKER ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะมีสองส่วนอยู่ในตัวเดียวกันคือ ส่วนที่ทำหน้าที่ Tracking จะนำข้อมูลโปรโตคอล NMEA ของ GPS มาประมวลผลแล้วจัดให้อยู่ในรูปของโปรโตคอล APRS จากนั้นก็จะทำการแปลงข้อมูล APRS เป็นสัญญาณเสียงในส่วนของ TNC แล้วส่งเข้าวิทยุรับส่งเพื่อส่งสัญญาณออกอากาศต่อไป

\"ผังการใช้งานผสมในลักษระเป็นแทร็กเกอร์\"

      สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ (WX) จากตัวสถานีตรวจวัดอากาศที่มีเซ็นเซอร์คอยตรวจวัดสภาพอากาศโดยมีดาต้าล๊อกเกอร์ทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปมาตรวัด แล้วส่งไปให้ WX-Gateway จะทำหน้าที่จัดเรียงข้อมูลให้อยู่ในรูปโปรโตคอล APRS จากนั้นก็จะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณเสียงที่ TNC แล้วส่งเข้าวิทยุรับส่งเพื่อส่งสัญญาณออกอากาศต่อไป

\"ผังแสดงการใช้งานเป็นสถานีตรวจวัดอากาศ\"

      ข้อมูลทั้งหมดนั้นเราจะเรียกว่าแพ็คเก็จเรดิโอ ในหนึ่งเฟรมข้อมูลนั้น จะประกอบด้วยโปรโตคอล APRS, AX.25, HDLC และเข้ารหัสสัญญาณด้วย NRZI ถึงจะนำบิทข้อมูลไปสร้างความถี่เสียง AFSK หรือในทางกลับกัน ตามลำดับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจโปรโตคอลจึงใช้รูปแบบ TNC2 Monitor เป็นหลัก และให้มองมันเป็นเพียงรูปแบบข้อความ จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะถูกจัดอยู่ในรูป

:
ตัวอย่างเช่น  >
,,:TEST STATUS

      จากรูปแบบข้างต้นจะเห็นว่า เราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนง่าย ๆ คือส่วนหัวจากโปรโตคอล AX.25 และส่วนของข้อมูลโปรโตคอล APRS ที่จะถูกคั่นด้วยตัวอักษร “:” ในส่วนหัวสถานีต้นทางกับปลายทางจะถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย “>” และตามด้วยเครื่องหมาย “,” เพื่อระบุเส้นทางหรือข้อกำหนดแพ็คเก็จ ในส่วนข้อมูลโปรโตคอล APRS ตัวอักษรแรกจะใช้ระบุชนิดรูปแบบของข้อมูล ต่อจากนั้นจะเป็นข้อมูลตามรูปแบบโปรโตคอล APRS ที่กำหนดไว้ โดยแต่ละส่วนอธิบายโดยได้ดังนี้
      SOURCE คือ นามเรียกขานต้นทาง มีได้ไม่เกิน 6ตัวอักษร อาจตามด้วย SSID ได้ 0-15 เพื่อระบุสถานะการใช้งานของสถานี (ให้ดูจากตารางข้อกำหนดใช้งาน SSID ประกอบ)
      DEST คือ นามเรียกขานปลายทาง มีได้ไม่เกิน 6ตัวอักษร อาจตามด้วย SSID ได้ 0-15 ส่วนใหญ่จะไม่ถูกใช้ แต่คงมีการใช้งานจาก MIC-E ที่จะใช้ส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งการบีบอัดข้อมูล และในส่วน SSID ของปลายทางนี้ จะมีไว้สำหรับระบุเส้นทาง เช่น HS5TQA>APRSTH-1 จะใช้เส้นทางเป็น WIDE1-1  (ไม่ต้องกำหนด WIDE1-1 ใน PATH)
      PATH คือ เส้นทางที่ข้อมูลจะถูกส่งออกไป หรือเป็นข้อกำหนดการส่งข้อมูล มีได้ไม่เกิน 8 ชื่อ ขนาดไม่เกิน 6 ตัวอักษร เช่น RELAY, TCPIP, IGATE, RFONLY, WIDE, TRACE, qAx เป็นต้น
      APRS DATA คือส่วนของข้อมูลโปรโตคอล APRS ซึ่งจะมีการจัดรูปแบบตามการใช้งานในด้านต่าง ๆ โดยให้อ่านจากคู่มือ APRS เป็นตัวอ้างอิงประกอบ ยกตัวอย่างได้ดังนี้

ตัวอย่าง โดยสถานี >HS5TQA APNN01WIDE1-1TEST STATUS

ตัวอย่าง โดย! ชี้ตารางสัญลักษณ์ เป็นอักษรชี้ในตาราง 
>,:!N10024.34 >A=000066

ตัวอย่าง กำหนดพิกัดจีพีเอสแล้วตามด้วยข้อมูลตรวจวัดอากาศ
>,:1342.24N/10020.77E_022/000g000t080p246h87b10110